วิธีการดูแลรถจักรยานยนต์แบบง่ายๆ ที่คุณสามารถทำเองได้!! ในสายงานแมสเซ็นเจอร์อย่างเราๆที่ต้องขับขี่ ใช้งานรถจักรยานยนต์อยู่เป็นประจำในทุกวันไม่ว่าจะออกไปส่งเอกสาร ส่งพัสดุ วางบิล เก็บเช็ค หรืองานต่างๆ ก็อาจจะทำให้รถจักรยานยนต์คู่ใจนั้นสึกหรอได้ไวกว่ารถที่ใช้งานธรรมดาทั่วไปวันนี้พี่ยูจึงนำเคล็ดลับและเทคนิคดีๆเล็กๆน้อยๆ ในการดูแลรถจักรยานยนต์แบบง่ายๆมาฝากกันครับ
- เลือกใช้ยางอย่างเหมาะสม
การเลือกใช้ยางให้เหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่จำเป็นต้องคำนึงถึงขนาด ความเร็วสูงสุดและ สมรรถนะต่าง ๆ ของรถจักรยานยนต์ ซึ่งสามารถดูได้จากคู่มือรถจักรยานยนต์หรือสอบถามจาก บริษัทผู้ผลิตจักรยานยนต์ เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ออกแบบขนาดยางอย่างเหมาะสมกับ ขนาดของมอไซค์แต่ละรุ่นแล้ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและสมรรถนะที่เหมาะสม แต่หากมีความจำเป็น ที่ต้องการจะเปลี่ยนยางจริงๆ ก็ควรจะคงไว้ซึ่งขนาดหน้ากว้างของยางและขนาดวงล้อยกตัวอย่าง ยางที่ติดรถมาขนาด 70/90-17 ก็สามารถเปลี่ยนเป็น 70/80-17 หรือ 70/100-17 ได้แต่ไม่ควรเปลี่ยนวงล้อจาก 17 เป็นวงล้อขนาดอื่น และไม่ควรเปลี่ยนขนาดหน้ากว้างของยางอีกด้วย
- ระบบเบรค
ระบบเบรค มีทั้งแบบดรัมเบรคและดิสก์เบรค ดิสก์เบรคเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยดีกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่าดรัมเบรคและเป็นระบบเบรคที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แต่สิ่งที่จะทำให้ตัวเบรคนั้นมีประสิทธิภาพจริงๆ คือน้ำมันเบรคเป็นส่วนสำคัญ คือต้องพยายามดูแลไม่ให้ลดลงต่ำกว่ามาตราฐานโดยให้สังเกตจากกระปุกน้ำมันเบรค หากน้ำมันลดลงก็หมายความว่าผ้าเบรคสึกหรอลดลงไปเรื่อย ๆ หรือหากน้ำมันเบรคต่ำกว่าระดับ MINแสดงว่าผ้าเบรคหมดให้เปลี่ยนผ้าเบรคใหม่และทุกๆปีควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคทั้งหมดการตรวจเช็คผ้าเบรคโดยดูจากร่องที่ผ้าเบรคถ้าสึกมากให้รีบเปลี่ยนถ้าไม่เปลี่ยนปล่อยไว้นานอาจทำให้จานเบรคเสียหายได้การปรับระยะผ้าเบรคนั้นระบบดิสก์เบรคเป็นระบบอัตโนมัติในขณะที่ดรัมเบรคต้องปรับตั้งระยะผ้าเบรคทันทีที่รู้สึกว่าเบรคต่ำนั้นคือต้องบีบหรือเหยียบมากกว่าปกติซึ่งเมื่อปรับจนหมดระยะที่เครื่องหมายบอกแล้วแสดงว่าผ้าเบรคบางมากให้รีบเปลี่ยนใหม่เพราะจะทำให้เบรคไม่อยู่เกิดเสียงดังและเบรคค้างได้
•โซ่ / สเตอร์
รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนที่ด้วยโซ่และสเตอร์นั้นซ่อมง่าย ดูแลรักษาง่ายก็จริง แต่ก็สึกหรอง่ายกว่าระบบเพลามากเพราะทั้งสองส่วนต้องทำงานร่วมกันเช่นหากโซ่หมดอายุก็จะทำให้สเตอร์เสียหายไปด้วย จึงต้องคอยดูแลตรวจสอบความตึงหย่อนของโซ่ทุกๆสัปดาห์ ์โดยเฉพาะในระยะรัน–อินที่โซ่จะยืดตัวมากอีกทั้งไม่ควรตั้งโซ่ให้ตึงมากเกินไปเพราะจะทำให้ทั้งโซ่และสเตอร์สึกหรอมากหากต้องใช้งานบรรทุกหนักลุยน้ำลุยโคลนต้องคอยตรวจดูความหนาแน่นของข้อต่อโซ่และลูกกลิ้งว่ายังหมุนได้คล่องหรือไม่หากข้อต่อติดต้องรีบเปลี่ยนทันทีเนื่องจากมีสิทธิขาดได้ตลอดเวลาการบำรุงรักษาโซ่ควรหล่อลื่นด้วยน้ำมันเกียร์เป็นประจำหากสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำมันโซล่าหรือเบนซินโดยใช้แปรงอย่าแช่ทิ้งไว้เพราะจะทำให้ โอริงแข็งและเสื่อมคุณภาพส่วนสเตอร์นั้นจะเสื่อมไปตามสภาพเช่นฟันล้มหรือบิ่นโดยมากโซ่และสเตอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10,000 - 11,000 กิโลเมตรเมื่อครบกำหนดหรือถึงระยะเวลาก็ควรที่จะเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด
กรอง / ไส้กรอง
กรองไส้กรองต้องทำหน้าที่ในการกรองฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศไม่ให้เข้าไปใน เครื่องยนต์ หากไส้กรองต้องทำงานหนักจะทำให้ “กรองอากาศตัน” ซึ่งมีผลให้เครื่องยนต์กินน้ำมันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และจะวิ่งไม่ค่อยออก โดยทั่วไปควรทำความสะอาดไส้กรองในทุกๆ 3,000-4,000 กิโลเมตรและเปลี่ยนไส้กรอกใหม่ทุก 12,000กิโลเมตรแต่ก็ขี้นอยู่กับสภาพการใช้งานด้วยถ้ารถจักรยานยนต์ใช้งานในสถานที่ที่มีฝุ่นมากๆก็ต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
วิธีทำความสะอาดไส้กรองเบื้องต้น
-ถอดไส้กรองอากาศออกมาล้างด้วยน้ำมันเบนซินประมาณ 3 ถึง 4 น้ำจนกว่าจะสะอาดแล้วบิดผึ่งให้แห้งสนิท
-นำมาชะโลมให้ทั่วด้วยน้ำมันออโต้ลู้ปให้พอหมาดๆต้องทำความสะอาดตัวกล่องกรองอากาศด้วย
-ประกอบกลับที่เดิม ระวังอย่าให้ไส้กรองฉีกขาด
ไส้กรองอื่น ๆ เช่น ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง แบบที่เป็นตะแกรงกรองในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ซึ่งถอดออกล้างทำความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำมันเบนซิน ( แต่ไม่ต้องล้างบ่อย ๆ) ซึ่งจะใช้งานได้เกือบตลอดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ แต่ถ้าเป็นไส้กรองกระดาษควรเปลี่ยนทุก ๆ 5,000กิโลเมตรเพราะทำความสะอาดไม่ได้